วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พุทธประวัติ



พุทธประวัติ

ชาติภูมิของเจ้าชายสิทธัตถะ

เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางมายาแห่งแคว้นสักกะซึ่งเป็นประเทศราชของแคว้นโกศล แต่พระเจ้ามหาโกศลไม่ทรงเข้มงวดนัก พระเจ้า-สุทโธทนะจึงทรงมีพระราชอำนาจมากพอสมควรและทรงปกครองแคว้นแบบประชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์เจ้าชายสิทธัตถะประสูติใต้ต้นสาละตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม






เมื่อประสูติได้ 5 วัน มีพิธีเฉลิมพระนามโดยพราหมณ์ 108 คนมาทำพิธี และตั้งพระนามว่าสิทธัตถะพราหมณ์ 8 คน ให้ทำนายลักษณะของพระราชโอรส พราหมณ์ 7 คนทำนายเหมือนกับที่ กาฬเทวิลดาบสทำนายไว้คือถ้าพระองค์ทรงครองราชสมบัติจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถ้าทรงออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก เป็นธรรมดาที่เจ้าศากยะซึ่งเป็นวรรณะกษัตริย์ ต้องการให้พระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์มีพราหมณ์ชื่อโกญฑัญญะที่หนักไปในการแสวงหาความหลุดพ้น ต้องการให้พระองค์เสด็จออกผนวช



การศึกษา เจ้าสิทธถะทรงได้รับการทะนุทะถนอมจากพระเจ้าแม่น้าผู้รักพระกุมารอย่างกะว่าเป็นพระโอรสของพระองค์เอง จนพระกุมารมีพระชนมายุได้ 8 พรรษาพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ประทานครูบาอาจารย์มาสอนศิลปวิทยาถวายเจ้าชาย ครูวิศวามิตรได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอาจารย์ที่ใกล้ชิดพระเจ้าสุทโธทนะทรงวางหลักในการเรียนการสอนไว้ 3 ประการ คือ 1. ต้องสอนเรื่องจริง 2. ต้องสอนเรื่องที่ถูกต้อง 3. ต้องสอนไม่ให้เอาความรู้ไปข่มผู้อื่น วิชาที่ทรงศึกษาคือ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ ไตรเพท และเวทางคศาสตร์ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ มีตั้งแต่ศิลปะการปกครอง ศิลปะการดูลักษณะคนและพื้นที่ศิลปะการดูดวงดาว ศิลปะการใช้อาวุธต่างๆในการรบ ศิลปะทางภาษาและกวีนิพนธ์ กล่าวโดยสรุปแล้ว เป็นศิลปะที่พร้อมจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้ คือเป็นศิลปะทางโลก ไตรเพทนี้เกี่ยวข้องกับการกล่าวสรรเสริญพระเจ้า และการประกอบพิธีกรรม ผู้เรียนจบแล้วจะมีความรู้ทางธรรมพร้อมที่จะเป็นนักบวชแบบพราหมณ์ได้ หรือเป็นความรู้ทางธรรม เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาจบความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ถ้าเปรียบกับปัจจุบัน คือ จบปริญญาเอกในทุกสาขา เพราะไม่มีความรู้ที่จะต้องทรงศึกษาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น