วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สถานะทางสังคมของเจ้าชายสิทธัตถะ

แคว้นสักกะเป็นแคว้นเล็กๆไม่มีกำลังทหารที่เข้มแข็งปกครองโดยเจ้าเชื้อสายศากยวงศ์ซึ่งมีลัษณะเฉพาะตัว ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ถือตัว จึงมักอภิเษกสมรสกันในหมู่พี่น้องร่วมพระบิดาพระมารดา และในหมู่วงศานุวงศ์ใกล้ชิด ยอมรับระบบวรรณะของอินเดียในสมัยนั้นสังคมจึงมีความรังเกียจกันระหว่างวรรณะ
แคว้นสักกะเป็นแคว้นเกษตรกรรม มีการทำนาปลูกข้าวสาลีเป็นส่วนใหญ่ สภาพเศรษฐกิจของแคว้นสักกะ จึงไม่เจริญรุ่งเรืองเท่าไรนัก เจ้าชายสิทธัตถะเคยตรัสว่า เป็นชนบทที่ถึงพร้อมด้วย ความเพียรหาทรัพย์ หมายความว่า ประชาชนมีความขยันขันแข็ง และภูมิประเทศไม่ได้อุดมสมบูรณ์นัก สภาพความเป็นอยู่ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาจบแล้ว สมควรมีพระชายาได้ขณะนั้นเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ 16 พรรษา พระราชบิดาทรงสู่ขอเจ้าหญิงยโสธรา โกลิวงศ์มาอภิเษก ทรงสร้างปราสาท 3 หลังสำหรับประทับอยู่ 3 ฤดู มีการบำรุงบำเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรีบรรเลง ไม่มีบุรุษเจือปนจนเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ 29 พรรษา และทรงมีโอรสองค์หนึ่งกับพระนางยโสธรา คือเจ้าชายราหุล

เจ้าชายสิทธัตถะได้รับการบำรุงบำเรออย่างเต็มที่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เป็นเวลาถึง 13 ปี นานเพียงพอ ที่จะถึง จุดอิ่มตัวและเกิดความเบื่อหน่าย เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีความรู้สูงทั้งทางโลกและทางธรรม พระองค์ย่อมทรงพิจารณาสิ่งแวดล้อมของพระองค์ได้ลึกซึ้งถึงแก่น แม้พระองค์จะไม่ได้เสด็จออกไป นอกพระราชวังบ่อยนัก แต่เสด็จออกไปคราวใด ก็ทรงพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนนอกจากนั้น พระองค์ ทรงสดับรับฟัง และทรงครุ่นคิดพิจารณาด้วยเหตุผล ก็ทรงทราบสภาพแวดล้อมในแคว้นของพระองค์ ได้อย่างดีทั้งในพระราชฐานและนอกพระราชฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น