วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การออกผนวช



การออกผนวช ในฐานะที่เจ้าชายสิทธัถะทรงเป็นรัชทายาท ได้รับการบำรุงบำเรออย่างเต็มที่ แต่พระองค์ก็ได้พบและเข้าพระทัยในสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งหลายที่มีความแตกต่างกันตามระบบวรรณะที่รุนแรง จึงทรงครุ่นคิดอยู่เสมอเพื่อหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์ จึงทรงเสด็จออกจากพระนครโดยทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะตามเสด็จมุ่งสู่แคว้นมคธ เวลาใกล้รุ่งเสด็จถึงแม่น้ำอโนมา เสด็จข้ามแม่น้ำแล้ว ประทับริมฝั่งทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ ที่นั้น การเสด็จบรรพชาครั้งนี้เรียกว่า มหาภิเนษกรมณ์


เหตุผลที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช 1. เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกนอกพระราชฐาน 4 ครั้งและทรงพบเทวทูตทั้ง 4 ครั้งคือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ทังเวชและสลดพระทัยใรงสนเทวทูตทั้งสาม ข้างต้น และทรงพอพระทัยในความเป็นสมณะ 2. เหตุผลตามคำพยากรณ์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับคำพยากรณ์ว่า ถ้าทรงครองฆราวาส จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกบรรพชา จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก พระองค์ทรงทราบคำพยากรณ์นี้ดีจึงทรงพิจารณาผลดีผลเสียระหว่างความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิกับความเป็นพระพุทธเจ้า ดังตัวอย่างการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อยังมีกำลังเข้มแข็งอยู่ก็รักษาอำนาจไว้ได้ เมื่ออ่อนกำลังลง ก็เกิดการกบกขึ้นทั่วไป พระเจ้าจักรพรรดิได้เสื่อมอำนาจเมื่อทรงชราภาพเป็นตัวอย่างในอดีตมามากล้ว เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดลึกซึ่งแล้ว การเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนการเป็นพระพุทธเจ้ามีผลดีมากกว่าผลเสีย ดังตัวอย่าง การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งเที่ยงแท้แน่นอน การพ้นจากกิเลสเป็นการพ้นอย่างเด็ดขาดไม่มีวันเสื่อมอีก ทรงเป็นพระพุทธเจ้าได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกกาลเวลา การเป็นพระพุทธเจ้าทรงทำประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า พุทธจักรไม่มีพรมแดน เสด็จไปประกาศศาสนาได้ทุกแคว้นทุกเมือง ได้รับการต้อนรับอย่างดี มีคนเป็นอันมากเลื่อมใส 3. เหตุผลเพื่อความเป็นธรรมในสังคม สังคมอินเดียเป็นสังคมที่มีวรรณะ การยึดถือเรื่องวรรณะเป็นไปอย่างรุนแรง วรรณะชั้นสูง 2 วรรณะคือ พราหมณ์ และกษัตริย์แก่งแย่งชิงดีกันมา โดยตลอดสำหรับวรรณะแพศย์เป็นวรรณะกลางพยายามแข่งขันสร้างฐานะให้เป็นเศรษฐี โดยการเอารัดเอาเปรียบคนจนคือพวกวรรณะศูทรความต้องการเลิกวรรณะในสังคมและความต้องการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจที่เอารัดเอาเปรียบกันก็เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น